การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการปฏิวัติ ทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ การแสวงหาความรู้ใหม่ด้วย การสังเกต ทดลอง และการใช้เหตุผล ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปินที่สำคัญต่างๆ ต่างใช้หลัก วิชากายวิภาคศาสตร์ เช่น กล้ามเนื้อและโครงสร้างของมนุษย์มาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ทั้ง งานจิตรกรรมและประติมากรรมที่เน้นสัดส่วนและความงดงามของสรีระของมนุษย์อย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องการเดินเรือทำให้มนุษย์ในยุโรปสมัยกลางคิดประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับการ เดินทาง เช่น เลนส์สำหรับกล้องส่องทางไกลและกล้องดูดาว พัฒนาเทคนิคการต่อเรือ เป็นต้น

จากยุคโบราณถึงยุคกลาง การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาเป็นวิชาแขนงเดียวกัน นอกจากนี้คริสต์ศาสนายังมีอิทธิพลครอบงำความรู้ด้านต่างๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงมีการแยกวิชาปรัชญาออกจากวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระยะแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ส่วนปรัชญา เป็นเรื่องการศึกษาความคิด วิธีการศึกษาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ซึ่ง แต่เดิมเป็นความเชื่อตามศาสนาและเชื่อตามนักปราชญ์โบราณ ในยุคนี้ปัญญาชนได้ใช้วิธีสังเกต คิดประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยในการสังเกต และใช้การทดลองอย่างมีเหตุผล ทำให้วิทยาศาสตร์ ก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้การศึกษาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ มีความลึกซึ้งมากกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความรู้ด้านอื่นๆ พัฒนาขึ้นด้วย
นักวิทยาศาสตร์และผลงานในช่วงนี้ ได้แก่
1.นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (NICOLUS COPERNICUS : ค.ศ. 1473-1543) ชาวโปแลนด์ เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดาวเคราะห์รวมทั้งโลกหมุนรอบ ดวงอาทิตย์ ทฤษฎีของเขาล้มล้างความเชื่อของคนในสมัย โบราณและสมัยกลางที่ยึดถือข้ดสมมติฐานของอริสโตเติล (ARISTOTLE) และงานเขียนของโตเลมี (PTOLEMY) ที่อธิบายว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
2. กาลิเลโอ กาลิเลอิ (GALILEO GALILEI : ค.ศ. 1564- 1642) ชาวอิตาลีได้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ เพื่อสังเกตการโคจรรอบ ดวงดาว ทำให้นักดาราศาสตร์ได้รับความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและการ เคลื่อนที่ในระบบสุริยจักรวาลตามทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส ทฤษฎีของ กาลิเลโอขัดแย้งกับคริสต์ศาสนา ทำให้ถูกลงโทษจากคริสตจักร
3. เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (SIR FRANCIS BACON : ค.ศ. 1561-1626) ชาวอังกฤษได้วางรากฐานการศึกษางานด้าน วิทยาศาสตร์ จนในที่สุดทำให้มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสมาคม ที่ เรียกว่า THE ROYAL SOCIETY OF LONDON FOR THE PROMOTION OF NATURAL KNOWLEDGE ขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
4. เรอเน เดส์การ์ส (RENE DESCARTES : ค.ศ. 1596- 1650) ชาวฝรั่งเศสได้เสนอหลักการใช้เหตุผล และการศึกษาค้นคว้า วิจัยในการแสวงหาความรู้และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ว่า สามารถนำมาพิสูจน์และตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
5. เซอร์ ไอแซก นิวตัน (SIR ISAAC NEWTON : ค.ศ. 1642- 1727) ชาวอังกฤษค้นพบกฎแรงดึงดูด (LAW OF UNIVERSAL ATTRACTION) และกฎแห่งความโน้มถ่วง (LAW OF GRAVITY) ซึ่งเป็นผลให้นัก วิทยาศาสตร์อธิบายการโคจรของโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ ที่หมุนรอบ ดวงอาทิตย์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น